
อาการโคลิค เป็นอาการที่มักพบในเด็กทารกปประมาณ
20% ในช่วงวัย 2-3 สัปดาห์ไปจนถึงอายุ 4-5 เดือน โดยยังไม่มีการระบุสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร
แต่พ่อแม่จะสังเกตได้ว่าเกิดอาการนี้กับลูก จากลักษณะการร้องไห้ ซึ่งแตกต่างจาก ทารกร้องไห้
ทั่วไป ดังนี้
-
ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ
ทั้งที่ดูปกติดี ไม่ได้หิวนม ง่วงหรือเฉอะแฉะร่างกาย หรือไม่สบาย
-
ลูกร้องไม่หยุด ร้องไห้รุนแรง
ร้องไห้เสียงแหลมดัง หน้าแดง บางครั้งอาการมีอาการเกร็งร่วมด้วย
-
จะมีช่วงเวลาร้องไห้ที่แน่นอนในแต่ละวัน
เช่น ช่วงค่ำ - เย็น และร้องเป็นประจำประมาณ 3 ครั้ง/สัปดาห์ และติดต่อกันเกิน 1
สัปดาห์
โดยมีการสันนิษฐานกันว่าอาการปวดท้องของลูกน้อยจากลมในกระเพาะที่มากเกินไปอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กร้องไห้
นั่นจึงทำให้พ่อแม่มือใหม่ต้องพยายามป้องกันไม่ให้มีลมในท้องลูกมากเกินไป โดยการเลี่ยงให้ลูกดูดขวดน้ำหรือขวดนมเปล่า
ๆ ไม่ให้ลูกดูดจุกนมที่มีรูใหญ่เกินไป รวมถึงต้องให้เรอนมทุกครั้งที่กินนมอิ่มด้วย
และหากกินนมแม่จากเต้นอาจจะต้องเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดลมได้
เมื่อ เด็กร้องไห้
โยเยแบบอาหารโคลิค
สิ่งที่พ่อแม่จะทำได้ทันทีคือการปลอบโยนและทำให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวขึ้น
ซึ่งมีหลายเทคนิควิธีการ อาทิ การปรับบรรยากาศในบ้านให้สบาย ๆ และผ่อนคลาย
มีแสงสว่างน้อย ๆ หรืออาจเปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ อุ้มลูกให้ชิดอก และโยกตัวเบาๆ ไม่ควรเขย่าตัวลูกนะ
เพราะอาจจะกระทบกระเทือนได้
โดยเมื่อลูกอายุได้ประมาณ
5 6 เดือนแล้วอาการโคลิค จะหายไปเองได้ ระหว่างนี้พ่อแม่จะต้องวางแผนรับมือกับการร้องไห้อย่างหนักของลูกน้อย
เพื่อเลี่ยงผลเสียทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะการร้องไห้ไม่หยุดนั้นจะทำให้ลูกน้อยเกิดความเครียดซึ่งส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายและสภาวะทางอารมณ์
อีกทั้งทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกผิดและอาจจะโกรธลูกได้ทั้งที่สภาวะนี้ไม่ใช่ความผิดของใคร
ถ้าลูกยังมีอาการร้องไห้ไม่หยุดและไม่รู้จะรับมืออย่างไรแนะนำให้พบแพทย์นะ