แน่นอนถ้าเมื่อลูกน้อยในช่วงวัยประมาณ
1 เดือนมีอาการร้องไห้เสียงดังต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ ย่อมทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกอดเป็นห่วงเป็นกังวลไม่ได้กลัวว่าลูกรักจะถูก
อาการโคลิค หรือภาวะ ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ
เล่นงาน แม้ว่าอาการโคลิคหรือลูกร้องไม่มีสาเหตุนี้จะสามารถหายไปเองได้เมื่ออายุ 4
6 เดือน แต่ระหว่างที่มีอาการอาจจะทำให้พ่อแม่เป็นกังวล เกิดความเครียด และยังส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและพัฒนาการด้านต่าง
ๆ ของลูกน้อยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น การเจริญเติบโตของร่างกาย
การเจริญเติบโตของเซลล์สมอง พัฒนาการทางด้านเรียนรู้ พัฒนาการด้านการเข้าสังคม
อีกด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นว่าลูกกำลังมี อาการโคลิค แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ควรหาทางการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
เมื่อทารกร้องไห้
สิ่งแรกที่พ่อแม่ควรทำก็คือการเข้าปลอบโยนโดยทันที เพราะหากปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ
ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติโซลหรือฮอร์โมนความเครียดออกมาสะสมเป็นจำนวนมาก ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย
รวมทั้งยังเข้าขัดขวางการสร้างเซลล์สมองเซลล์ใหม่อีกด้วย
นอกจากนั้นการที่ลูกต้องใช้แรงในการส่งเสียงร้องไห้มากกว่าปกติ จะทำให้ลูกรู้สึกเหนื่อย
ไม่สบายตัว หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นมีอาการชัก มีไข้สูง ท้องเสีย หรือหมดสติได้
สำหรับการปลอบโยนทารกที่กำลังร้องไห้อยู่นั้น
แนะนำว่าให้คุณพ่อคุณแม่ทำการห่อตัว ทารกร้องไห้ ด้วยผ้าขนหนูแล้วอุ้มในท่าคว่ำเข้าไปหาตัว
โดยให้ตัวของลูกแนบกับอกเพื่อเป็นการเพิ่มความอบอุ่น จากนั้นค่อย ๆ โยกตัวเบา ๆ เพื่อให้หนูน้อยรู้สึกเพลิดเพลินและผ่อนคลายมากขึ้น
แต่ถ้าทำไปสักพักแล้วยังไม่มีทีท่าว่าอาการร้องไห้จะทุเลาลง อาจจะลองพาเดินไปยังที่ที่มีบรรยากาศเงียบสงบ
ไม่มีเสียงคนคุยกัน
อย่างไรก็ตามหากลูกแสดงอาการผิดปกติมากกว่าทุกครั้ง
เช่น แผดเสียงร้องไห้แหลมดังหรือนานกว่าปกติ ไม่ยอมกินนมแม่
การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ตัวเขียว ปากซีด มีไข้ขึ้นสูงเกินกว่า 38
องศาเซลเซียส อาเจียน อุจจาระไม่ออกหรืออุจจาระเป็นเลือด
คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อทำการประเมินอาการและรักษาทันที
ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่ได้ผลดีหลายวิธี
โดยเฉพาะการรักษาด้วยจุลินทรีย์โปรไบโอติคที่ทั้งปลอดภัยและมีประสิทธิภาพการรักษาดีเยี่ยม
แต่อย่างไรก็ตามต้องใช้ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น